...ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก "งานข้อมูลท้องถิ่น" ของฝ่ายส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง...

23 ธันวาคม 2552

ปรัชญา ทรัพยากรสารสนเทศทันสมัย ก้าวไกลด้วยคุณค่าของเทคโนโลยี มีมิตรไมตรีต่องานบริการ
วิสัยทัศน์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุน การเรียนการสอนทุกระดับ ได้รับการยอมรับจากชุมชน และสังคมพร้อมกับเป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานของการบริการ
พันธกิจ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมุ่งจัดเก็บ รวบรวม และเผยแพร่ความรู้และภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542



สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนห้องสมุด และส่วนคอมพิวเตอร์
ซึ่งงานด้านห้องสมุดได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2497 โดยในระยะแรกยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านบรรณารักษ์เข้ามาบริหารจัดการ จึงใช้ชื่อว่า ห้องสมุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2528 ได้เปลี่ยนเป็นแผนกห้องสมุด และฝ่ายห้องสมุด จนถึง พ.ศ. 2538 ได้ยกฐานนะเป็น สำนักวิทยบริการ โดยในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการนำโปรแกรม CDS/ISIS มาใช้ในการดำเนินการจัดเก็บฐานข้อมูล ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ระบบอินเตอร์เนต ได้ปรับเปลี่ยนความเร็ว จาก 10 Mbps มาเปลี่ยน 1 Gbps เพิ่มห้องการเรียนการสอนทางไกล เป็น 2 ห้องปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS (Virginia Tech Library System) เป็น VTLS Virtua ILS มาจัดการแทนระบบเดิมซึ่งเทคโนโลยีใหม่ ๆ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่คณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่


ส่วนงานด้านคอมพิวเตอร์ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2540 ในขณะนั้นใช้ชื่อหน่วยงานว่า ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ โดยมีภารกิจตามประกาศของสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เรื่องการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ 4 ประการคือ
1. ให้บริการอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของสถาบันได้ศึกษาค้นคว้า และฝึกทักษะด้านคอมพิวเตอร์
2. ให้การสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษาของสถาบัน
3. พัฒนาหลักสูตรการอบรมและจัดอบรมคอมพิวเตอร์แก่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของสถาบัน และ บุคลากรในท้องถิ่นตามความต้องการของท้องถิ่น
4.ดำเนินงานอื่นๆตามที่สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงมอบหมายให้แก่สำนักคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนมาเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS (Virginia Tech Library System) มาจัดการแทน และได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้บาร์โค้ดในการยืม – คืน เอกสารหรือหนังสือต่าง ๆ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่คณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่
ปี พ.ศ. 2543 พัฒนาและปรับปรุงอาคารสำนักวิทยบริการ ให้สามารถรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายภายใน (LAN) ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในอาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการให้บริการต่างๆดังนี้
- ให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- ใช้ระบบ CDS - ISIS มาจัดทำฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร
- จัดตั้งห้องข้อมูลท้องถิ่น
- พัฒนาปรับปรุงฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษาปี พ.ศ. 2540 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป CDS - ISIS อย่างเต็มรูปแบบปี พ.ศ. 2542 มีอาคารวิทยบริการเป็นเอกเทศ ขนาด 6 ชั้น เนื้อที่ 4,973 ตารางเมตร มีการนำระบบห้องสมุดอัติโนมัติ ระบบ VTLS มาใช้ในการดำเนินงานและการให้บริการ โดยเริ่มนำมาทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2542 และสามารถดำเนินงานและให้บริการโดยระบบ VTLS เต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2542ปี พ.ศ. 2538 ยกฐานะขึ้นเป็นสำนักวิทยบริการปี พ.ศ. 2535 - 2538 เริ่มนำโปรแกรมสำเร็จรูป CDS - ISIS เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน และการให้บริการปี พ.ศ. 2528 ยกฐานะขึ้นเป็นฝ่ายหอสมุดปี พ.ศ. 2516 ยกฐานะขึ้นเป็นแผนกห้องสมุด มีสถานที่เป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น 1 หลังปี พ.ศ. 2514 ย้ายไปตั้งอยู่ที่อาคาร 2 ชั้น 2 ปี พ.ศ. 2513 ย้ายไปตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 2ปี พ.ศ. 2510 เริ่มก่อตั้งเป็นห้องสมุด ตั้งอยู่ในอาคารเรียนชั่วคราว1 มีนาคม พ.ศ. 2497 เริ่มก่อตั้ง จากหน่วยงานที่เรียกว่า ห้องสมุด