...ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก "งานข้อมูลท้องถิ่น" ของฝ่ายส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง...

27 ธันวาคม 2552

Academic Resource and Information Technology
Muban Chombueng Rajabhat University

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
.....
เกี่ยวกับ...ARIT
........ตราสำนักวิทยบริการออกแบบโดย ผศ.วิวรรธน์ จันทร์เทพย์ (ปี 2552)
........สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2479 โดยเริ่มจากการสั่งสมหนังสือสำหรับประกอบการเรียนการสอนเก็บรวบรวมไว้ในห้องของอาคารเอกเทศ เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม ในระยะแรกไม่มีอาจารย์ที่มีวุฒิภาวะทางบรรณารักษ์เข้ามาบริหารจัดการที่ชัดเจน เริ่มปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเมื่อห้องสมุดได้ย้ายไปอยู่ชั้น 2 ของอาคาร 2 ซึ่งมีอาจารย์ที่มีความรู้ด้านบรรณารักษ์เข้าไปรับผิดชอบ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 เป็นต้นมา ผู้บริหารห้องสมุดในระยะแรกได้แก่ อาจารย์รำไพ (มูลเมือง) แสงเรือง เป็นผู้รับผิดชอบในฐานะหัวหน้าแผนกห้องสมุดคนแรก และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นฝ่ายห้องสมุด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา นับเป็นการบริหารที่มีความชัดเจนมากขึ้น มีการให้บริการเช่นห้องสมุดทั่วๆ ไป เช่น บริการยืม-คืน บริการวารสารและหนังสือพิมพ์ บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า เป็นต้น แต่การดำเนินการส่วนใหญ่จะใช้อุปกรณ์การทำงานที่ไม่ยุ่งยากและสลับซับซ้อนมากนัก และมีจำนวนคนที่ทำงานเพียง 2-3 คนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2538 ได้ยกฐานะของห้องสมุดที่เป็นฝ่ายห้องสมุดขึ้นมาเป็นสำนักวิทยบริการ โดยกำหนดให้เป็นโครงสร้างหลักโครงสร้างหนึ่งของการบริการองค์กรที่เทียบเท่าคณะ นับเป็นการยกฐานะของห้องสมุดและให้ความสำคัญของการบริหารองค์กรนี้ ถือเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนที่สำคัญยิ่งของมหาวิทยาลัย ในระยะดังกล่าวมีความชัดเจนในการพัฒนาเป็นอย่างมากมีการจัดสรรงบประมาณที่เพิ่มมากขึ้น มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการช่วยในการค้นหาหนังสือแทนบัตรรายการ มีสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งซีดีรอมและฐานข้อมูลออนไลน์ที่หลากหลายเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารห้องสมุดก็เหมาะที่จะรองรับการทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งการอบรม สัมมนา และค้นคว้าหาข้อมูลของคณาจารย์และนักศึกษาได้เป็นอย่างดี มีการเพิ่มจำนวนของเจ้าหน้าที่ห้องสมุด พร้อมทั้งการกำหนดภาระงานที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้บริการได้
........ปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงผลักดันและขับเคลื่อนให้ห้องสมุดมีบทบาทในการเป็นแหล่งเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยได้แก่ มาตรฐานห้องสมุด ซึ่งได้กำหนดให้ห้องสมุดในแต่ละชนิดมีมาตรฐานไปในทางเดียวกัน ห้องสมุดในระดับอุดมศึกษาแม้จะสังกัดอยู่ในมหาวิทยาลัยเรียกชื่อเป็นอย่างอื่นก็ต้องอิงมาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัย พ.ศ.2529 มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2544 และมาตรฐานห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2545 ที่กำหนดไว้ว่า ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาควรมีสถานภาพเท่าหน่วยงานทางวิชาการในระดับคณะ ผู้บริหารห้องสมุดควรขึ้นตรงต่อผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน / มหาวิทยาลัย โดยมีคณะกรรมการของห้องสมุดร่วมกันกำหนดนโยบายในการพัฒนา ติดตามดูแลการบริหารงานและการประสานงานต่างๆ ตามความเหมาะสม
........ครงสร้างการบริหารงานห้องสมุดของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ในขณะที่เป็นแผนกห้องสมุดและฝ่ายห้องสมุด ตามลำดับนั้น ผู้บริการองค์กรในขณะนั้นได้ให้ความสำคัญเท่ากับแผนกและฝ่ายอื่นๆ ขององค์กร ส่วนการบริการงานภายในห้องสมุด ไม่มีการแบ่งงานที่ชัดเจน เนื่องจากจำนวนผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีน้อย ผู้ที่เข้าไปช่วยทำงานในห้องสมุด ได้แก่ อาจารย์สาขาบรรณารักษ์ ส่วนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานมีเพียงวุฒิการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรืออนุปริญญาเท่านั้น สำหรับการบริหารงานภายในห้องสมุดนั้นคือ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่ พ.ศ. 2514 – พ.ศ. 2536 การจัดการบริหารงานในขณะที่เป็นฝ่ายห้องสมุดอยู่นั้น มีเพียงการบริการ และงานด้านเทคนิคเท่านั้น การทำงานด้านเทคนิคมีอาจารย์สาขาบรรณารักษ์เป็นผู้ดำเนินงาน ส่วนงานบริการซึ่งเป็นงานลักษณะงานประจำ (Routine) กำหนดให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ประจำเพียง 1-2 คนเท่านั้น แต่ภายหลังจากปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ฝ่ายห้องสมุดได้ยกฐานะเป็นสำนักวิทยบริการ ได้มีการจัดองค์กรที่เข้มแข็งขึ้น โดยได้จัดองค์กรภายในแยกเป็น 8 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายเลขานุการ ฝ่ายบริการทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง ฝ่ายวิทยพัฒนา ฝ่ายข้อมูลท้องถิ่น ฝ่ายวิเคราะห์และพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศ ฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษา ซึ่งแต่ละฝ่ายได้มีการกำหนดภารกิจที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถสนองตอบต่อการเป็นหน่วยงานสนับสนุนการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย ในระยะนี้ได้มีการเพิ่มอัตรากำลังเจ้าหน้าที่เพื่อให้รองรับการภารกิจเบื้องต้น มีการกำหนดวุฒิการศึกษาที่เป็นบรรณารักษ์เพิ่มขึ้นรวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ทางด้านโสตทัศนอุปกรณ์ และนักวิชาการคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยงานในห้องสมุด อัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 เป็นต้นมา มีจำนวนไม่น้อยกว่า 13 ตำแหน่ง
........วันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2545 อธิการบดีสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ผู้ช่วยศาสตราจารย์พิทักษ์ อาจคุ้มวงศ์ ได้เข้ารับพระราชทานป้ายนามอาคารสำนักวิทยบริการ “อาคารบรรณาราชนครินทร์” พร้อมกันกับสำนักวิทยบริการของสถาบันราชภัฏอีก 34 แห่ง จากสมเด็จพระพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ณ จังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ.2548 สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 และประกาศกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับโครงสร้างหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยระบุให้สำนักวิทยบริการยุบรวมกับสำนักคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และได้ชื่อใหม่ว่า สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการหลอมรวมภารกิจหน้าที่ของสำนักวิทยบริการเดิมและศูนย์คอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน มีการจัดตั้งหน่วยงานภายในเพียงหน่วยงานเดียวคือ สำนักงานผู้อำนวยการ ส่วนการบริหารงานภายในองค์กรให้กำหนดได้ตามความเหมาะสม
........
ที่มา : สมคิด ดวงจักร์. รายงานการวิจัยเรื่องแนวทางและรูปแบบการจัดการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดศูนย์ให้การศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง (2549)

23 ธันวาคม 2552

ปรัชญา ทรัพยากรสารสนเทศทันสมัย ก้าวไกลด้วยคุณค่าของเทคโนโลยี มีมิตรไมตรีต่องานบริการ
วิสัยทัศน์ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่สนับสนุน การเรียนการสอนทุกระดับ ได้รับการยอมรับจากชุมชน และสังคมพร้อมกับเป็นแหล่งการเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานของการบริการ
พันธกิจ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมุ่งจัดเก็บ รวบรวม และเผยแพร่ความรู้และภูมิปัญญา เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542



สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยหน่วยงานที่สำคัญ 2 ส่วนคือ ส่วนห้องสมุด และส่วนคอมพิวเตอร์
ซึ่งงานด้านห้องสมุดได้จัดตั้งขึ้นมาพร้อมกับวิทยาลัยหมู่บ้านจอมบึง เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2497 โดยในระยะแรกยังไม่มีบุคลากรที่มีความรู้ด้านบรรณารักษ์เข้ามาบริหารจัดการ จึงใช้ชื่อว่า ห้องสมุด ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 และ พ.ศ. 2528 ได้เปลี่ยนเป็นแผนกห้องสมุด และฝ่ายห้องสมุด จนถึง พ.ศ. 2538 ได้ยกฐานนะเป็น สำนักวิทยบริการ โดยในปี พ.ศ. 2535 ได้มีการนำโปรแกรม CDS/ISIS มาใช้ในการดำเนินการจัดเก็บฐานข้อมูล ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ระบบอินเตอร์เนต ได้ปรับเปลี่ยนความเร็ว จาก 10 Mbps มาเปลี่ยน 1 Gbps เพิ่มห้องการเรียนการสอนทางไกล เป็น 2 ห้องปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS (Virginia Tech Library System) เป็น VTLS Virtua ILS มาจัดการแทนระบบเดิมซึ่งเทคโนโลยีใหม่ ๆ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่คณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่


ส่วนงานด้านคอมพิวเตอร์ ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2540 ในขณะนั้นใช้ชื่อหน่วยงานว่า ศูนย์ภาษาและคอมพิวเตอร์ โดยมีภารกิจตามประกาศของสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง เรื่องการจัดตั้งศูนย์คอมพิวเตอร์ 4 ประการคือ
1. ให้บริการอาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของสถาบันได้ศึกษาค้นคว้า และฝึกทักษะด้านคอมพิวเตอร์
2. ให้การสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนของอาจารย์และนักศึกษาของสถาบัน
3. พัฒนาหลักสูตรการอบรมและจัดอบรมคอมพิวเตอร์แก่อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรของสถาบัน และ บุคลากรในท้องถิ่นตามความต้องการของท้องถิ่น
4.ดำเนินงานอื่นๆตามที่สถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงมอบหมายให้แก่สำนักคอมพิวเตอร์ในปี พ.ศ. 2541 ได้เปลี่ยนมาเป็นโปรแกรมห้องสมุดอัตโนมัติ VTLS (Virginia Tech Library System) มาจัดการแทน และได้นำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้บาร์โค้ดในการยืม – คืน เอกสารหรือหนังสือต่าง ๆ ฐานข้อมูลออนไลน์ที่คณาจารย์และนักศึกษาสามารถใช้เพื่อการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่
ปี พ.ศ. 2543 พัฒนาและปรับปรุงอาคารสำนักวิทยบริการ ให้สามารถรองรับเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ เครือข่ายภายใน (LAN) ปรับปรุงระบบไฟฟ้าภายในอาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการให้บริการต่างๆดังนี้
- ให้บริการสืบค้นข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- ใช้ระบบ CDS - ISIS มาจัดทำฐานข้อมูลดรรชนีวารสาร
- จัดตั้งห้องข้อมูลท้องถิ่น
- พัฒนาปรับปรุงฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมเทคโนโลยีทางการศึกษาปี พ.ศ. 2540 ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป CDS - ISIS อย่างเต็มรูปแบบปี พ.ศ. 2542 มีอาคารวิทยบริการเป็นเอกเทศ ขนาด 6 ชั้น เนื้อที่ 4,973 ตารางเมตร มีการนำระบบห้องสมุดอัติโนมัติ ระบบ VTLS มาใช้ในการดำเนินงานและการให้บริการ โดยเริ่มนำมาทดลองใช้ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2542 และสามารถดำเนินงานและให้บริการโดยระบบ VTLS เต็มรูปแบบตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2542ปี พ.ศ. 2538 ยกฐานะขึ้นเป็นสำนักวิทยบริการปี พ.ศ. 2535 - 2538 เริ่มนำโปรแกรมสำเร็จรูป CDS - ISIS เข้ามาใช้ในการดำเนินงาน และการให้บริการปี พ.ศ. 2528 ยกฐานะขึ้นเป็นฝ่ายหอสมุดปี พ.ศ. 2516 ยกฐานะขึ้นเป็นแผนกห้องสมุด มีสถานที่เป็นอาคารเอกเทศ 2 ชั้น 1 หลังปี พ.ศ. 2514 ย้ายไปตั้งอยู่ที่อาคาร 2 ชั้น 2 ปี พ.ศ. 2513 ย้ายไปตั้งอยู่ที่อาคาร 1 ชั้น 2ปี พ.ศ. 2510 เริ่มก่อตั้งเป็นห้องสมุด ตั้งอยู่ในอาคารเรียนชั่วคราว1 มีนาคม พ.ศ. 2497 เริ่มก่อตั้ง จากหน่วยงานที่เรียกว่า ห้องสมุด

ดูงาน...คอนถมชมเพชร



........22-23 ธ.ค. 52 จัดโดยสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ'บึง

อดีต...สำนักวิทยบริการฯ





A4

02 พฤศจิกายน 2552

ข้อมูลท้องถิ่น

........ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก

........ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศคือ ข้อมูลเป็น ส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศคือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบเขตและรูปแบบข้อมูลท้องถิ่น
.....1. เป็นวัสดุที่เกี่ยวกับประวิต์ศาสตร์ท้องถิ่นและเรื่องราวโดยทั่วไปของท้องถิ่น
.....2. เป็นหลักฐานหรือผลงานที่มุ่งเน้นข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับความเป็นมาของท้องถิ่น
.....3. เป็นเรื่องราวหรือภูมิหลังของท้องถิ่นที่อาจมีความสำคัญต่อผู้อ่าน
.....4. เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ลักษณะข้อมูลท้องถิ่น
.....1. เป็นข้อมูลทุกสาขาวิชา
.....2. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นทุกประเภท
.....3. เป็นข้อมูลที่ใช้สื่อทุกรูปแบบ เช่น หนังสือพิมพ์ โสตทัศน์ ฐานข้อมูล อินเตอร์เน็ต เว็บไซตื ฯลฯ
.....4. เป็นข้อมูลที่มีการผลิตจากแหล่งต่างๆ ในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชน
วิธีได้มาซึ่งข้อมูลท้องถิ่น
.....1. จัดซื้อจากแหล่งจำหน่าย
.....2. แลกเปลี่ยนข้อมูลจากหน่วยงานอื่น
.....3. การถ่ายเอกสารจากวารสารอื่น
.....4. การขอรับบริจาค/อภินันทนาการ
.....5. กฤตภาคจากหนังสือพิมพ์
.....6. เอกสารการประชุมสัมมนา รวมทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานต่างๆ ผลิตขึ้น
.....7. การรวบรวมขึ้น เช่น การสัมมนาแผนภูมปัญญาชาวบ้าน การบันทึกภาพ พิธีกรรม ฯลฯ
ประโยชน์ของการจัดการข้อมูลท้องถิ่น
.....1. ทรัพยากรท้องถิ่นไม่สูญหาย
.....2. เป็นบ่อเกิดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
.....3. เป็นสมบัติที่มีคุณค่าของแผ่นดิน
.....4. เป็นมรดกตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลัง
.....5. ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์

....................................................................................................

A5

A6




A7

โครงการศึกษาวัฒนธรรมท้องถิ่น

วัดคงคาราม

A9

A10

A11

30 กันยายน 2552

A8

28 กันยายน 2552

ท้องถิ่นราชภัฏ

.....มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย........http://www.cru.in.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่........http://www.cmru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง........http://www.lpru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์........http://www.uru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร........http://www.kpru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์........http://www.nsru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลย์สงคราม........http://www.psru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์........http://www.pcru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคราม........http://www.rmu.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย........http://www.lru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร........http://www.snru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี........http://www.udru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสิน........http://www.ksu.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏนครพนม........http://www.npu.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา........http://www.nrru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์........http://www.bru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์........http://www.srru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี........http://www.cpru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ........http://www.cpru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด........http://www.reru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ........http://www.sskru.ac.th/
.....มหาวิยาลัยราชภัฏราชนครินทร์........http://www.rru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี........http://www.tru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา........http://www.aru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยลงกรณ์........http://www.vru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี........http://www.rbru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี........http://www.kru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม........http://www.rinp.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี........http://www.pbru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง........http://www.mcru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช........http://www.nstru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต........http://www.pkru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา........http://www.yru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา........http://www.skru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี........http://www.sru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทร์เกษม........http://www.chandra.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี........http://www.dru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา........http://www.bsru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร........http://www.pnru.ac.th/
.....มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต........http://www.ssru.ac.th/

03 สิงหาคม 2552

A12

19 กรกฎาคม 2552

A13

03 กรกฎาคม 2552

A14

28 มิถุนายน 2552

A15