...ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่เว็บบล็อก "งานข้อมูลท้องถิ่น" ของฝ่ายส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง...

02 พฤศจิกายน 2552

ข้อมูลท้องถิ่น

........ข้อมูล (data) หรือ ข้อมูลดิบ หมายถึง ข้อเท็จจริง หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น อาจจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ก็ได้ ข้อมูลที่ดีจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นปัจจุบัน เช่น ปริมาณ ระยะทาง ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ คะแนนของนักเรียน รายงาน บันทึก

........ข้อมูลแตกต่างจากสารสนเทศคือ ข้อมูลเป็น ส่วนของข้อเท็จจริง โดยได้จากการเก็บมาจากเหตุการณ์ต่างๆ สารสนเทศคือข้อมูลที่นำมาผ่านกระบวนการเพื่อสามารถนำไปใช้ ในการตัดสินใจต่อไปได้ทันทีหรือการนำข้อมูลมาประมวลผลเพื่อการนำไปใช้งาน ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขอบเขตและรูปแบบข้อมูลท้องถิ่น
.....1. เป็นวัสดุที่เกี่ยวกับประวิต์ศาสตร์ท้องถิ่นและเรื่องราวโดยทั่วไปของท้องถิ่น
.....2. เป็นหลักฐานหรือผลงานที่มุ่งเน้นข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับความเป็นมาของท้องถิ่น
.....3. เป็นเรื่องราวหรือภูมิหลังของท้องถิ่นที่อาจมีความสำคัญต่อผู้อ่าน
.....4. เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ลักษณะข้อมูลท้องถิ่น
.....1. เป็นข้อมูลทุกสาขาวิชา
.....2. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่นทุกประเภท
.....3. เป็นข้อมูลที่ใช้สื่อทุกรูปแบบ เช่น หนังสือพิมพ์ โสตทัศน์ ฐานข้อมูล อินเตอร์เน็ต เว็บไซตื ฯลฯ
.....4. เป็นข้อมูลที่มีการผลิตจากแหล่งต่างๆ ในท้องถิ่น ทั้งภาครัฐและเอกชน
วิธีได้มาซึ่งข้อมูลท้องถิ่น
.....1. จัดซื้อจากแหล่งจำหน่าย
.....2. แลกเปลี่ยนข้อมูลจากหน่วยงานอื่น
.....3. การถ่ายเอกสารจากวารสารอื่น
.....4. การขอรับบริจาค/อภินันทนาการ
.....5. กฤตภาคจากหนังสือพิมพ์
.....6. เอกสารการประชุมสัมมนา รวมทั้งเอกสารสิ่งพิมพ์ที่หน่วยงานต่างๆ ผลิตขึ้น
.....7. การรวบรวมขึ้น เช่น การสัมมนาแผนภูมปัญญาชาวบ้าน การบันทึกภาพ พิธีกรรม ฯลฯ
ประโยชน์ของการจัดการข้อมูลท้องถิ่น
.....1. ทรัพยากรท้องถิ่นไม่สูญหาย
.....2. เป็นบ่อเกิดของภูมิปัญญาท้องถิ่น
.....3. เป็นสมบัติที่มีคุณค่าของแผ่นดิน
.....4. เป็นมรดกตกทอดไปสู่อนุชนรุ่นหลัง
.....5. ความภาคภูมิใจในเอกลักษณ์

....................................................................................................